วิธีการสอน BUACHED Method

 

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ BUACHED Method

แผนการสอน 1-1 จักจั่นBuached Method

แผนการสอน 1-2 สาวน้อยกายกรรมBuached Method

แผนการสอน 1-3 เครื่องร่อนBuached Method

แผนการสอน 2-1 แรงกับเครื่องกลBuached Method

ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้ BUACHED Method

เครื่องกลฺBuached

รถของเล่นพลังงานไฟฟ้าBuached

แรงเสียดทานBuached

ตัวอย่าง 1

  ผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6  
  รหัสวิชา ว23101    ภาคเรียนที่ 1      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3   รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แรงลอยตัวหรือแรงพยุงของของเหลว   ั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เวลา 100  นาที

————————————————————————————————————————————

1. มาตรฐานการเรียนรู้

าตรฐาน 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม

าตรฐาน 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบาย และ ตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

2. ตัวชี้วัด

1. ทดลองและอธิบายแรงพยุงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ

3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

แรงพยุง เป็นแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุ วัตถุที่ลอยได้ในของเหลวจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของ ของเหลว

4. สาระการเรียนรู้

1. แรงพยุง คือ แรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับส่วนที่จมของวัตถุ

2. ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีแรงพยุงมาก

3. วัตถุที่ลอยได้ในของเหลวจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของของเหลว

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร

2. ความสามารถในการคิด

3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

4. ความสามารถในการแก้ปัญหา

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย

2. ใฝ่เรียนรู้

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

7. ชิ้นงาน/ภาระงาน

1. ใบงานที่ 1.3 เรื่อง แรงพยุง

2. Exit ticket

3. การบ้าน

8. กระบวนการเรียนรู้

ช่วง กิจกรรมขั้นตอนการปฏิบัติ กลวิธี สื่อและอุปกรณ์ พฤติกรรมนักเรียน
ช่วง กิจกรรมขั้นตอนการปฏิบัติ กลวิธี สื่อและอุปกรณ์ พฤติกรรมนักเรียน
Be Familiar   5 นาที ขั้นเตรียมความพร้อม สร้างความคุ้นเคย ครู 50 %  นักเรียน 50% 1. ครูแจ้งข้อตกลงของห้องเรียนให้นักเรียน    ทราบ 2. ครูแจ้งบทบาทหน้าที่ในแต่ละกลุ่มให้นักเรียนทราบ 3. ครูแจ้งตัวชี้วัดในการเรียนครั้งนี้ให้นักเรียนทราบ                     Power Point             นักเรียนเข้าใจข้อตกลงและรู้บทบาทของตัวเอง      
Urge 5 นาที กระตุ้นความรู้เดิม เร่งเร้าความสนใจ ครู 50 %  นักเรียน 50% 4. ครูให้นักเรียนฝึกสังเกตภาพแล้วตั้งคำถามให้นักเรียนตอบดังนี้      Q.1  จากภาพคืออะไร แล้วลอยน้ำได้หรือไม่     A.1  เหล็ก  และสามารถลอยน้ำได้หรือลอยน้ำไม่ได้แล้วแต่นักเรียนตอบ     Q.2  เรือลอยน้ำได้อย่างไร     A.2  เรือลอยน้ำๆ ได้เพราะความหนาแน่นของเรือน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ     Q.3  มีแรงอะไรมาเกี่ยวข้องบ้างและลักษณะของแรงเป็นอย่างไร     A.3  นักเรียนอาจตอบ แรงโน้มถ่วง แรงกิริยา แรงปฏิกิริยา แรงพยุง แรงลอยตัว     Q.4  นักเรียนทราบได้อย่างไรว่ามีแรงนั้นอยู่     A.4  นักเรียนอาจจะตอบจากการสังเกตหรือจากประสบการณ์ 5. ครูแจ้งกิจกรรมสืบเสาะที่ 1.3 เรื่อง แรงพยุง และแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.ทดลองแรงพยุงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ 2.อธิบายแรงพยุงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ             ถาม-ตอบ       ถาม-ตอบ     TPS(Think pair share) คิดเดี่ยว จับคู่คิดและร่วมกันคิดทั้งกลุ่ม             Power Point               นักเรียนตอบคำถาม     นักเรียนตอบคำถาม   นักเรียนคิดเดี่ยว จับคู่คิดและร่วมกันคิดทั้งกลุ่มและเขียนและตอบคำถาม        
Activities  30 นาที ขั้นกิจกรรมสืบเสาะ ครู 30 %  นักเรียน 70% 6. ครูแนะนำอุปกรณ์การทดลองและเน้นย้ำการอ่านเครื่องชั่งสปริง 7.ครูกระตุ้นให้นักเรียนสืบเสาะหาคำตอบโดยการศึกษากิจกรรมที่ 1.3 แรงพยุงและออกแบบการทดลองเป็นแผนภาพลงในกระดาษบรู๊ฟ ( 3 นาที) 8 .ครูสุ่มนักเรียน 1-2 ออกมานำเสนอการออกแบบการทดลองและครูก็ทบทวนขั้นตอนการทำกิจกรรมเพื่อให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่ง โดยเน้นย้ำการใช้ถ้วยยูเรก้า การหย่อนดินน้ำมันลงในน้ำ การหาน้ำหนักของน้ำที่ล้นออกมาหน่วยเป็นนิวตัน (2 นาที) 9. ครูให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมารับใบกิจกรรมแล้วทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ (15 นาที) 10. ครูให้นักเรียนตัวแทนแต่ละกลุ่ม นำเสนอผลงานที่ได้จากการทำกิจกรรมที่ 1.3 แรงพยุง(10 นาที)   Group of 4   ออกแบบการทดลอง     สาธิต           การสืบเสาะ   Gallery Walk   Power Point ถ้วยยูเรก้า เครื่องชั่งสปริง ดินน้ำมัน เชือก กระดาษบรู๊ฟ บีกเกอร์ น้ำ                   นักเรียนออกแบบการทดลอง   นักเรียนนำเสนอ           ทำกิจกรรมสืบเสาะ นำเสนอ
Closing   /10 นาที ขั้นสรุปกิจกรรม ครู 40 %  นักเรียน 60% 11. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน  โดยครูใช้คำถามว่า  Q.5 น้ำหนักก้อนดินน้ำมันที่ชั่งในอากาศและชั่งในน้ำเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด  A.5 ไม่เท่ากัน ชั่งในอากาศมีน้ำหนักมากกว่าชั่งในน้ำ  Q.6 น้ำหนักของน้ำที่ล้นออกมาเท่ากับน้ำหนักของวัตถุที่หายไปหรือไม่  A.6 เท่ากัน  Q.7 จากการเปรียบเทียบน้ำหนักของน้ำที่ล้นออกมากับผลต่างของน้ำหนักก้อนดินน้ำมัน เมื่อชั่งในอากาศกับชั่งขณะที่อยู่ในน้ำ จะมีข้อสรุปอย่างไร     การอภิปราย       Power Point                     นักเรียนตอบคำถามและร่วมกันอภิปราย
ช่วง กิจกรรมขั้นตอนการปฏิบัติ กลวิธี สื่อและอุปกรณ์ พฤติกรรมนักเรียน
  A.7 น้ำหนักดินน้ำมันที่ชั่งในน้ำน้อยกว่าชั่งในอากาศ และน้ำหนักของดินน้ำมันที่หายไปเมื่อชั่งในน้ำเท่ากับน้ำหนักน้ำที่ล้นออกมา            
Homework/ Higher practice     20 นาที ขั้นขยายความรู้และเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวัน ครู 50 %  นักเรียน 50% 12. ครูและนักเรียนนำผลจากการทดลองมาอภิปรายเกี่ยวกับแรงพยุงและประโยชน์ของแรงพยุง 13. ครูให้การบ้านนักเรียน     อภิปราย   Power Point       อภิปรายลงข้อสรุป  
Evaluation /Exit   10 นาที ขั้นประเมินผล ครู 10 %  นักเรียน 90%  14. ครูให้นักเรียนตอบต่อไปนี้ลงในกระดาษโพสอิท  Q.7  เรือลอยน้ำได้อย่างไร  Q.8  หาค่าแรงพยุงได้อย่างไร  Q.9  ขนาดแรงพยุงขึ้นอยู่กับปริมาณใดบ้าง     Exit ticket   Power Point   กระดาษโพสอิท     ตอบคำถาม  
Date  10นาที ขั้นนัดหมายในคาบต่อไป ครู 50 %  นักเรียน 50%  15. ครูให้นักเรียนเตรียมตัวก่อนเรียนในคาบต่อไปดังนี้  ศึกษาเรื่องถังดักไขมัน  2. เตรียมอุปกรณ์ดังนี้      –  กล่องห่อข้าวพลาสติก กลุ่มละ 1 กล่อง     date       Power Point               บันทึกลงสมุด  

9. สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 1

2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

3. ใบงานที่1.3 เรื่อง แรงพยุง

4. Power Point

10. การวัดและประเมินผล

1. การซักถาม/การตอบคำถาม

2. การนำเสนอผลการทดลอง

3. ตรวจใบงานที่1.3 เรื่อง แรงพยุง

ตัวอย่าง 2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

หน่วยที่ 5  มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเรื่อง   เรื่อง  ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

วิชา วิทยาศาสตร์ 6                                                                                            รหัสวิชา ว23102

กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์                                                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 

เวลาทั้งหมด   14  ชั่วโมง     เวลาเรียนครั้งนี้   2  ชั่วโมง                     ภาคเรียนที่  2

…………………………………………………………………………………………………………………………………

1.  มาตรฐานการเรียนรู้ ว 2.2   

เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

2.  ตัวชี้วัด

    ว 2.2  ม. 3/1 วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา 

3. จุดประสงค์

  1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้(K)
  2. นักเรียนสามารถสำรวจสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติและสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้(P)
  3. นักเรียนสามารถอภิปรายเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้(P)

4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

          –  ความสามารถในการสื่อสาร   (การนำเสนองาน)

          –  ความสามารถในการคิด

          –  ทักษะชีวิต

          –  ทักษะการใช้เทคโนโลยี

5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                                                                                  

– ความสนใจใฝ่รู้  /ความมีเหตุผล ร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

– มุ่งมั่น  อดทน  รอบคอบ / การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์            

– ความรับผิดชอบ  มีวินัย

– อยู่อย่างพอเพียง

6.สาระสำคัญ

          สิ่งแวดล้อมคือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว  ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต     การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เป็น ขาดความรู้อาจส่งผลกระทบปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

7. กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นสร้างความคุ้ยเคย(Be familiar)  (3 นาที)

  1. ครูเช็คชื่อนักเรียน
  2. ครูทบทวนกติกาในห้อง
  3. ครูตรวจสอบกลุ่มและบทบาทหน้าที่ในกลุ่ม

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Urge)  (10 นาที)

  1. ครูนำเสนอภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปัญหาน้ำเน่า ขยะมูลฝอย ควันพิษ ไฟป่า การเผาตอซังข้าว  การฉีดสารเคมี เป็นต้น
  2. ครูตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนตอบเช่น

– ภาพที่นักเรียนเห็นคืออะไร

– ภาพที่นักเรียนเห็นเกิดจากอะไร

– ภาพที่นักเรียนเห็นเกิดขึ้นที่ไหน

– ในท้องถิ่นของเราจะมีปัญหาอย่างที่เห็นในภาพหรือไม่

          3.  ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรม

ขั้นกิจกรรมสืบเสาะ(Activities)

          1. นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

 2.  มอบหมายนักเรียนสำรวจสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในท้องถิ่น(ในโรงเรียน) ดังนี้

                              2.1 แบ่งกลุ่มนักเรียนในการสำรวจบริเวณโรงเรียน  ได้แก่  หน้าอาคาร3 ถึงหน้าโรงเรียน  หน้าอาคารดนตรี ถึงสนามฟุตบอล  ระหว่างอาคาร 5-หลังอาคาร 3 อาคารเกษตร-สระน้ำ  หลังอาคาร 5-หลังโรงอาหาร  บ้านพักครู- ป่าหลังโรงเรียน

                              2.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบใบบันทึกการสำรวจสำรวจสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในท้องถิ่น(ในโรงเรียน) ตามบริบทที่ตนเองสำรวจ และตามความสนใจของสมาชิกภายในกลุ่ม

                              2.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนแผนการสำรวจชุมชนโดยครูคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และต้องเน้นถึงความปลอดภัยในการเดินทางและการสำรวจให้มากที่สุด

                              2.4 นักเรียนแต่ละกลุ่มออกไปสำรวจ รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน  ถ่ายภาพ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด จากนั้นช่วยกันวิเคราะห์สภาพปัญหานั้นๆ ว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือธรรมชาติ

3. นักเรียนเขียนรายงานการสำรวจสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยกำหนดให้นักเรียนพิมพ์รายงานด้วยคอมพิวเตอร์หรือเขียนรายงานด้วยลายมือของตนเอง และเน้นความพอประมาณโดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่นักเรียนมีอยู่แล้ว เช่นใช้กระดาษที่เขียนแล้ว 1 หน้ามาเขียนรายงานเป็นต้นจัดทำสไลด์ด้วยโปรแกรม power point

 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Closing)

  1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอรายงานผลการสำรวจสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติหน้าชั้นเรียน โดยใช้โปรแกรม power point ครูและนักเรียนในชั้นเรียนร่วมอภิปรายซักถามเพื่อความชัดเจนของข้อมูล
  2. นักเรียนที่นั่งฟังบันทึกข้อมูลตามแบบกิจกรรม เรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  3. นักเรียนร่วมกันอภิปรายภาพรวมของปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและแนวทางการดูแลรักษาและป้องกันปัญหาทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเองของแต่ละกลุ่ม

ขั้นขยายความรู้ (Homework /Higher practice)

1. นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่สำคัญยกตัวอย่างปัญหาที่จะดำเนินการแก้มา 1 ปัญหา โดยมีข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้

1.1  แนวทางที่นักเรียนเลือกนำมาใช้ นักเรียนและโรงเรียนของนักเรียนจะต้องมีส่วน

ร่วมในการดำเนินงาน

                             1.2  แนวทางนั้นต้องเป็นแนวทางที่นักเรียนและโรงเรียนสามารถทำได้จริง

                             1.3 นักเรียนต้องคำนึงถึงงบประมาณที่ใช้ว่ามีความพอประมาณกับศักยภาพของตนเองและโรงเรียนหรือไม่

        2.  นักเรียนเขียนโครงการแก้ปัญหาที่กลุ่มลงข้อคิดเห็น เตรียมนำเสนอในคาบต่อไป

ขั้นประเมินความรู้ (Evaluation/Exit ticket)

ให้นักเรียนเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในคาบนี้ เรียนรู้อะไร ผลเป็นอย่างไร  นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร     ลงในกระดาษ post it   แล้วส่งครู

ขั้นนัดหมายคาบต่อไป (Date)

           นักเรียนเขียนโครงการเพื่อแก้ปัญหาขยะ พร้อมทั้งวางแผนการดำเนินการตามโครงการและประชาสัมพันธ์ผู้อื่นเข้าร่วมโครงการ แผนการประเมินผลการดำเนินการของโครงการ เตรียมนำเสนอในคาบต่อไป

6.  สื่อและแหล่งเรียนรู้

  • ใบความรู้ เรื่อง ทรัพยากร ธรรมชาติ
  • ข้อมูลความรู้เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่น
  • ใบกิจกรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
  • แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบัวเชดวิทยา

7. การวัดและประเมินการเรียนเรียนรู้

ว 2.2 ม. 3/1 –  ตรวจรายงานการสำรวจสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น –  ตรวจรายงานการอภิปรายแนวทางการดูแลรักษาและป้องกันปัญหาทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง –  แบบประเมินผลงาน   –  แบบประเมินผลงาน