ประวัติความเป็นมาภาษาซี
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) จึงทำให้นักพัฒนาโปรแกรม สามารถที่จะกำหนดรายละเอียดของโปรแกรมให้เข้าถึงการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดความเร็วในการทำงานสูงสุด และในขณะเดียวกันภาษาซีก็ยังมีความเป็นภาษาระดับสูง (High-Level Language) ทำให้ผู้พัฒนาสามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมได้ โดยเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้องการได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ใด ๆ
ภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1972 ผู้คิดค้นคือ นายเดนนิส ริทชี่ (Dennis Rittchie) โดยพัฒนามาจากภาษา B และ ภาษา BCPL แต่ยังไม่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางนัก ในปี ค.ศ. 1978 Brain Kernighan ได้ร่วมกับ Dennis Ritchie มาพัฒนามาตรฐานของภาษาซีเรียกว่า K&R ทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับภาษาซีมากขึ้น จึงเกิดภาษาซีอีกหลายรูปแบบเพราะยังไม่มีการกำหนดรูปแบบภาษาซีที่เป็นมาตรฐาน และในปี 1988 Ritchie จึงได้กำหนดมาตรฐานของภาษาซีเรียกว่า ANSI C เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดมาตรฐานในการสร้างภาษาซีรุ่นต่อไปภาษาซี เป็นภาษาซีระดับกลางเหมาะสมสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นมากคือใช้งานได้กับเครื่องต่างๆ ได้และปัจจุบันภาษาซีเป็นภาษาพื้นฐานของภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ เช่น C++
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี
ขั้นตอนที่ 1 เขียนโปรแกรม (source code)
ใช้ editor เขียนโปรแกรมภาษาซีและทำการบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .c เช่น work.c เป็นต้น editor คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรม โดยตัวอย่างของ editor ที่นิยมนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมได้แก่ Notepad,Edit ของ Dos ,TextPad ,Dev C++ และ EditPlus เป็นต้น ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกใช้โปรแกรมใดในการเรียนโปรแกรมก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล
ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรม (compile)
นำ source code จากขั้นตอนที่ 1 มาทำการคอมไพล์ เพื่อแปลจากภาษาซีที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ในขั้นตอนนี้คอมไพเลอร์จะทำการตรวจสอบ source code ว่าเกิดข้อผิดพลาดหรือไม่หากเกิดข้อผิดพลาด จะแจ้งให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรมและทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ อีกครั้ง หากไม่พบข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์จะแปลไฟล์ source code จากภาษาซีไปเป็นภาษาเครื่อง (ไฟล์นามสกุล .obj) เช่น ถ้าไฟล์ source code ชื่อ work.c ก็จะถูกแปลไปเป็นไฟล์ work.obj ซึ่งเก็บภาษาเครื่องไว้เป็นต้น compile เป็นตัวแปลภาษา รูปแบบหนึ่ง มีหน้าที่หลักคือการแปลภาษาโปรแกรมที่มนุษย์
เขียนขึ้นไปเป็นภาษาเครื่อง โดยคอมไพเลอร์ของภาษาซี คือ C Compiler ซึ่งหลักการที่คอมไพเลอร์ใช้ เรียกว่า คอมไพล์ (compile) โดยจะทำการอ่านโปรแกรมภาษาซีทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วทำการ แปลผลทีเดียว นอกจากคอมไพเลอร์แล้ว ยังมีตัวแปลภาษาอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า อินเตอร์พรีเตอร์การอ่านและแปลโปรแกรมทีละบรรทัด เมื่อแปลผลบรรทัดหนึ่งเสร็จก็จะทำงานตามคำสั่งในบรรทัดนั้น แล้วจึงทำการแปลผลตามคำสั่งในบรรทัดถัดไป หลักการที่อินเตอร์พรีเตอร์ใช้เรียกว่า อินเตอร์เพรต (interpret)
ข้อดีและข้อเสียของตัวแปลภาษาทั้งสองแบบมีดังนี้
ตัวแปลภาษา |
ข้อดี |
ข้อเสีย |
คอมไพเลอร์ |
- ทำงานได้เร็ว เนื่องจากทำการแปลผลทีเดียว แล้วจึงทำงานตามคำสั่งของโปรแกรมในภายหลัง
- เมื่อทำการแปลผลแล้ว ในครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้อง
ทำการแปลผลใหม่อีก เนื่องจากภาษาเครื่องที่แปล
ได้จะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำสามารถเรียกใช้งาน
ได้ทันที |
เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับโปรแกรมจะ
ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดได้ยาก เพราะ
ทำการแปลผลทีเดียวทั้งโปรแกรม |
อินเตอร์พรีเตอร์ |
- หาข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่ายเนื่องจากทำ
การแปลผลทีละบรรทัด
- เนื่องจากทำงานทีละบรรทัดดังนั้นจึงสั่งให้
โปรแกรมทำงานตามคำสั่งเฉพาะจุดที่ต้องการได้
- ไม่เสียเวลารอ
การแปลโปรแกรมเป็นเวลานาน |
ช้า เนื่องจากที่ทำงานทีละบรรทัด |
ขั้นตอนที่ 3 เชื่อมโยงโปรแกรม (link)
การเขียนโปรแกรมภาษาซีนั้นผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่งต่าง ๆ ขึ้นใช้งานเอง เนื่องจากภาษาซีมีฟังก์ชันมาตรฐานให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้งานได้ เช่น การเขียนโปรแกรมแสดงข้อความ “Buachedwittaya” ออกทางหน้าจอ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่น printf() ซึ่งเป็นฟังก์ชั่น มาตรฐานของภาษาซีมาใช้งานได้ โดยส่วนการประกาศ (declaration) ของฟังก์ชั่นมาตรฐานต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์แต่ละตัว แตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน
ด้วยเหตุนี้ภาษาเครื่องที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จึงยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้ แต่ต้องนำมาเชื่อมโยงเข้ากับ library ก่อน ซึ่งผลจากการเชื่อมโยงจะทำให้ได้ executable program (ไฟล์นามสกุล.exe เช่น work.exe) ที่สามารถนำไปใช้งานได้
ขั้นตอนที่ 4 ประมวลผล (run)
เมื่อนำ executable program จากขั้นตอนที่ 3 มาประมวลผลก็จะได้ผลลัพธ์ (output) ของโปรแกรมออกมา (ถ้ามี)

การใช้โปรแกรม Dev C++ ในการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี
1. เปิดโปรแกรม Dev C++ คลิก start > Bloodshed Dev C++ > Dev C++ แสดงดังรูป

2. คลิก File > New > Source File ดังรูป เพื่อพิมพ์ Source code

3. ให้พิมพ์ source code ลงในกระดาษ ดังรูป

4. Save file โดยไปที่ File > Save As และทำการตั้งชื่อ File โดยให้มีนามสกุลว่า .cpp ดังรูป ตั้งชื่อไฟล์นี้ว่า first ใส่นามสกุล .cpp

5. ทำการแปลโปรแกรม ( Compile ) โดยการให้เรากด ctrl+F9 โปรแกรมก็จะทำการแปลโปรแกรม ( Compile ) และ ถ้าเราเขียนโปรแกรมไม่ผิดก็จะ แสดงผลลัพธ์ออกมาดังรูปต่อไปนี้

6. กดปุ่ม close จากนั้นรันโปรแกรม ด้วยการกด ctrl+F10 จะแสดงผลดังรูป
