Flowchart (โฟลวชาร์ต) คือ การแสดงขั้นตอนการทำงานโดยใช้สัญลักษณ์รูปภาพเป็นตัวสื่อความหมาย รูปภาพแต่ละรูปจะมีความหมายเฉพาะตัว และใช้ลูกศรกำหนดทิศทางการทำงานในแต่ละขั้นตอน
สัญลักษณ์รูปภาพของโฟลวชาร์ต

จากตารางข้างบนเป็นสัญลักษณ์รูปภาพของโฟลวชาร์ตเพียงบางส่วนที่มีการใช้งานบ่อย ๆ เท่านั้น ซึ่งสัญลักษณ์รูปภาพ
ของโฟลวชาร์ตยังมีอีกมากมาย
ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนโฟลวชาร์ตแสดงขั้นตอนการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
วิเคราะห์ปัญหา
1. สิ่งที่ต้องการ คือ ต้องการทำการคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู จากสูตร
พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู =1/2 x ผลบวกของด้านคู่ขนาน x สูง
2. ตัวแปรที่ใช้ คือ
W1 ใช้เก็บความยาวของด้านคู่ขนานด้านที่ 1 ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
W2 ใช้เก็บความยาวของด้านคู่ขนานด้านที่ 2 ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
H ใช้เก็บความสูงของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
Area ใช้เก็บพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
3. ข้อมูลนำเข้าคือ ค่าของ W1,W2,H
4. ผลลัพธ์คือ คำนวณพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจากสูตร
Area = ½ x(W1+W2) X H
ขั้นตอนการทำงาน
1. รับค่า W1,W2,H เข้ามาในโปรแกรม
2. คำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
จากสูตร Area = ½ x(W1+W2) x H
3. แสดงผลลัพธ์ Area

ลักษณะโครงสร้างของผังงาน
ผังงานทั่วไปจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 3 รูปแบบต่อไปนี้คือ
1.โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (sequence structure)
2.โครงสร้างแบบมีการเลือก (selection structure)
3.โครงสร้างแบบทำซ้ำ (iteration structure)
โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence Structure)
โครงสร้างลักษณะนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของผังงาน และเป็นลักษณะขั้นตอนการทำงานที่พบมากที่สุด คือทำงานทีละขั้นตอนลำดับ

ตัวอย่างผังงานที่มีโครงสร้างแบบเป็นลำดับ

จากตัวอย่างผังงานการคำนวณดอกเบี้ย สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
- 1. เริ่มต้นการทำงาน
- 2. รับค่าเงินต้น และอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคำนวณหาดอกเบี้ย
- 3. คำนวณหาดอกเบี้ยโดยใช้สมการต่อไปนี้ ดอกเบี้ย = เงินต้น * อัตราดอกเบี้ย
- 4. แสดงค่าของดอกเบี้ยซึ่งคำนวณได้
- 5. จบการทำงาน
โครงสร้างแบบมีตัวเลือก (Selection Structure)
โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือกมีรูปแบบที่ซับซ้อนกว่าโครงสร้างแบบเป็นลำดับรูปแบบที่ง่ายที่สุดของโครงสร้างแบบนี้คือ การเลือกแบบมีทางออก 2 ทาง ในการเลือกแบบมีทางออก 2 ทาง นี้จะมีทางออกจากสัญลักษณ์การตัดสินใจเพียง 2 ทาง คือ ใช่หรือไม่ใช่ เท่านั้น (แต่ระบบการเขียนผังงานระบบ อนุญาตให้มีทางออกจากการตัดสินใจได้มากกว่า 2 ทาง)

ตัวอย่างผังงานที่มีโครงสร้างแบบมีการเลือก

ผังงานการคำนวณดอกเบี้ยซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย 2 อัตรา คือถ้าเงินต้นน้อยกว่า 1 ล้านบาท จะคิดดอกเบี้ยด้วยอัตราร้อยละ 4 แต่ถ้ามีเงินต้นมากกว่า 1 ล้านบาท จะคิดดอกเบี้ยด้วยอัตราร้อยละ 5
จากผังงานสามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
- 1. เริ่มต้นการทำงาน
- 2. รับค่าเงินต้น
- 3. พิจารณาเงินต้นที่รับค่าเข้ามามากกว่า 1 ล้านบาทหรือไม่
- ถ้าใช่ ให้คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ดังนั้น ดอกเบี้ย = เงินต้น * 0.05
- ถ้าไม่ใช่ ให้คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ดังนั้น ดอกเบี้ย = เงินต้น * 0.04
- 4. แสดงค่าดอกเบี้ยที่คำนวณได้
- 5. จบการทำงาน
โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration Structure)
โครงสร้างการทำงานแบบทำซ้ำ จะทำงานแบบเดียวกันซ้ำไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนไขเป็นจริง จนกระทั้งเงื่อนไขเป็นเท็จจึงทำงานอื่นต่อไป

ตัวอย่างผังงานที่มีโครงสร้างแบบทำซ้ำ ผังงานการคำนวณยอดบัญชี ( เงินต้นทบดอกเบี้ย )

- จากตัวอย่างผังงานสามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
- 1. เริ่มต้นการทำงาน
- 2. รับค่าเงินต้น อัตราดอกเบี้ย และจำนวนปีที่ฝากเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณยอดบัญชี
- (เงินต้นทบดอกเบี้ยตามจำนวนปี ที่ฝากเงิน)
- 3. กำหนดให้ n มีค่าเท่ากับ 0 ในผังงานนี้ n คือจำนวนรอบของการคิดดอกเบี้ย
- 4. กำหนดยอดบัญชีเริ่มต้นให้เท่ากับเงินต้นที่รับค่าเข้ามา
- 5. เปรียบเทียบว่า n น้อยกว่าจำนวนปีที่ฝากเงินหรือไม่
- 5.1 ถ้าใช่ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- - คำนวณยอดบัญชีใหม่โดยทบดอกเบี้ยเพิ่มเข้าไปจากยอดบัญชีเดิมโดยใช้สมการต่อไปนี้ยอดบัญชี = ยอดบัญชี + (ยอดบัญชี * อัตราดอกเบี้ย)
- - เพิ่มค่า n ไปอีก 1
- - กลับไปเปรียบเทียบเงื่อนไขในข้อ 5
- 5.2 ถ้าไม่ใช่ แสดงว่าคิดดอกเบี้ยทบต้นครบตามจำนวนปีที่ฝากเงินซึ่งรับค่าเข้ามาแล้วให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- - แสดงค่ายอดบัญชีสุดท้ายที่คำนวณได้
- - จบการทำงาน