้
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนเรื่อง โปรโมตและอับโหลดไฟล์สู่โลกออนไลน์แล้ว นักเรียนสามารถ
1. บอกขั้นตอนสร้างคีย์เวิร์ดและคำอธิบายเว็บไซต์ได้
2. โปรโมตเว็บไซต์ผ่าน Google ได้
3. อับโหลดไฟล์เว็บไซต์ ได้
สาระการเรียนรู้
1. สร้างคีย์เวิร์ดและคำอธิบายเว็บไซต์
2. โปรโมตเว็บไซต์ผ่าน Google
3. อับโหลดไฟล์เว็บไซต์
หลังจากสร้างเว็บไซต์จนเสร็จสมบูรณ์แล้วจะต้องอัพโหลด (upload)ข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่อินเทอร์เน็ต โดยนำไปฝากไว้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ขณะที่เว็บไซต์เผยแพร่อยู่นั้น เจ้าของเว็บไซต์สามารถปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงเนื้อหา หรืออัพเดตข้อมูลใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
การอัพโหลดเว็บไซต์มีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. จดทะเบียนชื่่อโดเมน (Domain Name)
2. จัดหาพื้นที่ฝากเว็บไซต์บนเว็บเชิร์ฟเวอร์
3. อัพโหลดไฟล์เข้าสู่เว็บเชิร์ฟเวอร์
1. ชื่อโดเมน (Domain Name)
ชื่อโดเมน (Domain Nsme) หมายถึง ชื่อที่กำหนดขึ้นเืพื่อใช้ในการอ้างอิงที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แทนการใช้เลขหมายไอพี (IP Address)โดยเลขหมายไอพีนั้นใช้สำหรับอ้างอิงที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด คั่งด้วยเครื่องหมายมหัพภาคหรือจุด (.)เช่น 118.175.15.186 จะเห็นว่า เป็นตัวเลขที่่ยาวมาก การระบุหรือพิมพ์หมายเลขไอพีให้ถูกต้องจึงค่อนข้างยากลำบาก ดังนั้น จึงได้คิดค้นชื่่อที่เป็นตัวอักษรหรือภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจและจำได้ง่ายมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ เช่น เว็บไซต์ของโรงเรียนบัวเชดวิืทยา มีหมายเลข IP คือ 118.175.15.186 ซึ่งกำหนดชื่อโดเมนเป็น www.buached.ac.th ทำให้จำได้ง่ายกว่าที่เป็นตัวเลข
1.1 รูปแบบการตั้งชื่อโดเมน
การตั้งชื่อโดเมนตามหลักการของอินเทอร์เน็ตมี 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
1) รูปแบบชื่อโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Inermet DNS Top Level Domins:gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป เช่น .COM,.net,.gov
2) รูปแบบชื่อโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ (Coumty Code Top Level Domins : ccTLDs)เป็นรูปแบบที่ใช้บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของชื่อโดเมน หรือที่ตั้งของชื่อโดเมน มักจะใช้กับประเทศ อื่นๆ ยกเว้นอเมริกา เช่น .th หมายถึง ชื่ิอโดเมนที่ดูแลโดยประเทศไทย หรือ .jp หมายถึงชื่อโดเมนของประเทศญี่ปุ่น
1.2 หลักการตั้งชื่อโดเมน ภาษาไทย
การตั้งชื่อโดเมนภาษาไทยมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ดังนี้
1. ชื่อโดเมนจะต้องไม่เกี่ยวข้องกัับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์
และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
2. ชื่อโดเมนจะต้องไม่กอให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสี่ยงแก่ผู้ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
3. ชื่อโดเมนจะต้องไม่เป็นชื่อต่างๆ ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่างๆ ในประเทศ
4. ชื่อโดเมนจะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
5. ชื่อโดเมนจะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิง คือ อ่านออกเสียงได้ตรงกันและมีความหมายตรงกัน
1.3 ข้อควรรู้ก่อนจดชื่อโดเมน
ข้อควรรู้ก่อนจดชื่อโดเมน มีดังนี้
1. ความยาวของชื่่อโดเมน ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2. ชื่อโดเมนต้องจดในชื่อของตนเองเท่านั้น
3. ถ้าเป็นชื่อโดเมนของบริษัท ควรจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดโดยใช้ชื่อพนักงาน
4. ข้อมุลที่สำคัญทีสุดของชื่อโดเมนคือรายลเอียดส่วนตัวของเจ้าของโดเมน
5. ใช้อีเมลที่เป็นของผู้จัดตลอดไปในการจดชื่อโดเมน เพื่อติดต่อกับผู้ให้บริการรับจดทะเบียน โดเมน (Registrant E-mail)
6. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับชื่อโดเมนไว้ให้ดี เช่น วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่นๆ
1.4 อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมน
อักขระหรือตัวอักษรที่ใช้เป็นชื่อโดเมน มีข้อปฏิบัติ ดังนี้
1. ชื่อโดเมนสามารถใช้ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์)ได้
2. ชื่อโดเมนโดยปกติจะขึ้นต้วด้วยตัวอักษร และลงท้ายตัวอักษรหรือตัวเลข
3. ชื่อโดเมนมีความยาวตัวใหญ่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
4. ชื่อโดเมนตัวอักษรตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
5. ชื่อโดเมนต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย
2. การจดทะเบียนชื่อโดเมน
การจดทะเบียนชื่อโดเมน เป็นการลงทะเบียนชื่อให้กับเว็บไซต์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยชื่อโดเมนที่ของจดทะเบียนจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่่น และควรตั้งให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ตลอดจนใช้คำง่ายๆ ให้จำได้ เช่น SanooK.com,Yahoo.com และ Cnn.com
2.1 ประเภทของการจดทะเบียนโดเมน
การจดทะเบียนชื่อโดเมนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) การจดทะเบียนชื่อโดเมนภายในประเทศ
การจดทะเบียนชื่อโดเมนภายในประเทศจะได้นามสกุลโดเมน เป็น .co.th,or.th,.ac.th,in.th โดยมีรายละเอียดโดยสรุป คือ
โดเมนนามสกุล .co.th เป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อเดี่ยวกับชื่อบริษัท หรือชื่อย่อของชื่อบริษัท ซึ่่่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการจดทะเบียนจึงต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐาน
โดเมนนามสกุล .or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององค์กร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
โดเมนนามสกุล .ac.th เป็นเว็บไซต์ของสถานศึกษา ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆหรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นฐาน
โดเมนนามสกุล .in .th เป็นเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดา โดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
โดเมนนามสกุล .go.th เป็นเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
โดเมนนามสกุล .net.th เป็นไว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกี่ยวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต)ในประเทศไทย
การจดทะเบียนชื่อโดเมนภายในประเทศต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด ทำให้จดทะเบีียนได้ยากจึงมีผู้จดทะเบียนไม่มากนัก
2) การจดทะเบียนชื่อโดเมนต่างประเทศ
การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศจะได้นามสกุล โดเมนที่นิยมทั่วไป คือ .com .net .org
โดเมนนามสกุล .com เป็นนามสกุลโดเมนที่ใช้ทำเว็บไซต์สำหรับบริษัท ห้างร้าน หน่วยงานและบุคคลทั่วไปได้รับความนิยมมากกว่านามสกุลโดเมนอื่นๆ
โดเมนนามสกุล .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ หรือองค์การที่ไม่หวังผลกำไรหน่วยงานการกุศล
ปัจจุบัน เนื่องจากว่ามีการพยายามแบ่งประเภทเว็บไซต์ออกไปและขณะเดี่ยวกันชื่อโดเมนที่่มีอยู่ก็มีำจำนวนจำกัดจึง
ได้เกิดโดเมนชนิดอื่นขึ้นอีกหลายนามสกุล ดังนี้
โดเมนนามสกุล .cc เป็นโดเมนใช้กับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไปที่ใช้แทน .com เนื่่องจาก .com ถูกนำไปใช้งานจนไม่ค่อยมีชื่อที่เหมาะสมกับหน่วยงานต่างๆแล้ว
โดเมนนามสกุล .ws เป็นชนิดของชื่อเว็บไซต์หนึ่งที่ยายามสร้างขึ้้นมาเพื่อแข่งขันกับ .cc การนำ้ไปใช้งานสามารุนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้ได้กับทุกประเภทเว็บไซต์
โดเมนนามสกุล .tv ใช้กับเว็บไซต์ของสือโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสี่ยง ปัจจุบันค่อนข้างไดัรับความนิยมจากเว็บไซต์ประเภทสื่่อพอสมควร
แม้ว่าปัจจุบันจะมีโดเมนมาตรฐานสากล ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
2.2 อัตราค่าบริการจดทะเบียนชื่อโดเมน
ปัจจุบันมีชื่อโดเมนทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านชื่อ ผู้ขอจดทะเบียนใหม่จะต้องตรวจสอบว่าโดเมนเนมที่ตั้งไว้นั้นซ้ำกับผู้อื่นหรือไม่ โดยติดต่อผ่านผู้ให้บริการจดทะเบียน หากไม่ทราบข้อมูลก็สามารถค้นหาผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เข้าำไปที่เว็บไซต์กูเกิ้ล (www.google.com)พิมพ์คำว่า จดทะเบียน โดเมน ก็จะพบรายชื่อผู้ให้บริการจำนวนมาก
อัตราค่าจดทะเบียนโดเมนเนมนั้นมีหลายราคาให้เลือก โดยคิดอัตราค่าบริการเป็นรายปีขึ้นอยู่กับขนาดความจุข้อมูลของเชิร์ฟเวอร์ว่าต้องการพื้นที่หน่วยความจำมากน้อยแีค่
ไหนและจดโดเมนนามสกุลอะไร ผู้ให้บริการบางแห่งก็เสนอราคาการจดทะเบียนชื่อโดเมนอย่างละเอียด ทั้งการจดทะเบียนใหม่ การต่ออายุ และการย้ายโดเมน
โดยปกติถ้าผู้ขอจดทะเบียนชื่อโดเมนเป็นบริษัท ห้างร้าน จะนิยมใช้ .com หรือสำหรับประเทศไทยจะใช้ .co .th เป็นหลัก ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาจะใช้ .ac หรือ .eu
สำหรับผู้เริ่มมีชื่อโดเมนเนมใหม่ ควรเลือกผู้ให็บริการที่เสนออัตราค่าบริการไม่สูงมากนัก และเลือกระยะเวลาขั้นต่ำของการให้บริการ เช่น 1-3 ปี หรือ ไม่ควรเกิน 5 ปี เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน เพราะหากไม่ต่ออายุชื่อโดเมนก็จะถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ