พันธุ์ข้าวพระราชทาน

          ข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญและอาหารหลักของคนไทยมาเป็นเวลานาน รวมถึงอาชีพชาวนาที่เป็นอาชีพหลักของคนไทย ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวเป็นอย่างมาก โดยทรงทดลองทำแปลงข้าวในสวนจิตรลดา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 

          โดยเมื่อทดลองจนได้สายพันธุ์ที่ดี มีคุณภาพเหมาะสมแล้ว จึงพระราชทานพันธุ์ข้าวต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนไปขยายพันธ์เพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็น

          - ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นข้าวหอมนุ่ม คุณภาพดี ให้ผลผลิตสูง



          - ข้าวสังข์หยดพัทลุง คือ ข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือทั่วไป



          - ข้าวขาวดอกมะลิ 105 คือ ข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มดี สุกแล้วหอม นุ่ม เหนียว

          - ข้าว กข 41 เป็นข้าวเจ้าที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดีได้ข้าวเต็มเมล็ด



          - ข้าว กข 6 เป็นข้าวเหนียวที่หุงสุกแล้วมีกลิ่นหอม เพราะมีการปรับปรุงสายพันธุ์โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์



          - ข้าวดอกพะยอม คือ ข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองของภาคเหนือที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี และยังนำมาปลูกแซมกับต้นยางพาราได้

          - ข้าวลืมผัว เป็นข้าวเหนียวที่โดดเด่นด้านรสชาติ มีกลิ่นหอม เมื่อหุงสุกแล้วจะเคี้ยวกรุบ หนึบ อุดมไปด้วยสารอาหาร

          จะเห็นได้ว่าพันธุ์ข้าวพระราชทานล้วนแต่เป็นข้าวสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของชาวนาที่ดีขึ้น จากรายได้ที่สูงขึ้น แล้วยังส่งผลมาถึงชาวไทยทุกคน ที่จะมีข้าวดีมีคุณภาพไว้บริโภคในประเทศอีกด้วย

 

 

 

HOME