Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จุดประสงค์การเรียนรู้

           เมื่อนักเรียนเรียนเรื่อง  การสร้างฟอร์มแล้ว  นักเรียนสามารถ
               1.  อธิบายวิธีการสร้างฟอร์มได้ถูกต้อง
               2.  สามารสร้างฟิลด์กรอกข้อความได้
               3.  สามารถสร้างลิสต์รายการได้
               4.  สามารถสร้างตัวเลือก Check box ได้
               5.  สามารถสร้างตัวเลือก Radio Button ได้
               6.  สร้างปุ่มกดได้

สาระการเรียนรู้

               1. วิธีการสร้างฟอร์ม
               2. สร้างฟิลด์กรอกข้อความ
               3. สร้างลิสต์รายการ
               4. สร้างตัวเลือก Check box
               5. สร้างตัวเลือก Radio Button
               6. สร้างปุ่มกด


 

แบบฟอร์ม (Form)

            มักปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในเว็บเพจ เช่น แบบฟอร์มใบสมัครสมาชิก แบบฟอร์มใบสั่งซื้อ แบบสอบถาม ฯลฯ โดยลักษณะของฟอร์มจะประกอบด้วยช่องว่างๆ สำหรับให้ผู้ใช้เติมข้อมูล กรอกข้อมูล หรือเลือกตอบคำถามแล้วส่งข้อมูลกลับมายังเจ้าของหรือผู้ดูแลเว็บไซต์

หลักการทำงานของฟอร์ม

            ลักษณะของฟอร์มที่ทำงานบนเว็บเพจเรียกว่า ไดนามิกเว็บเพจ หมายถึง เว็บเพจที่มีปฏิสัมพันธ์หรือการโต้รอบกับผู้ใช้ เช่น แบบฟอร์มสมัครสมาชิก แบบฟอร์มสอบถามความคิดเห็น แบบฟอร์มค้นหาข้อมูล เป็นต้น

             หลักการทำงานของฟอร์มบนไดนามิกเว็บเพจ คือจะต้องสร้างฟอร์มไว้บนเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้กรอกข้อมูลและส่งข้อมูลเข้ามายังเว็บเซิร์ฟเวอร์ๆ ค้นหาเว็บเพจและส่งข้อมูลไปยังแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ จากนั้น เซิร์ฟเวอร์จะค้นหาเว็บเพจและส่งข้อมูลไปยังแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ ๆ จะประมวลผลข่้อมูลที่ได้รับ แล้วส่งผ่านหน้าเว็บที่ประมวลผลแล้วไปยังเว็บเซอร์เวอร์ และส่งผลลัพธ์ลัพธ์ที่ได้ไปยังเบราว์เซอร์อีกครั้ง

             ถ้ามีฐานข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ฐานข้อมูลสมาชิก ฐานข้อมูลลูกค้า ฯลฯ จะต้องใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เช่น MS-Access หรือ MySQL สำหรับประมวบผลข้อมูล และออกแบบฐานข้อมูลส่วนที่ติดต่อกับเว็บเพจให้เชื่อมโยงถึ่งกันด้วย

             นอกจากนี้ จะต้องเขียนสคริปต์ (Script) หรือชุดของโค๊ดโปรแกรม เช่น VBScript JavaScript ASP และ PHP เป็นต้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือสคริปฝั่งไคลแอนท์จะประมวลโดยเบราว์เซอร์ของผู้ใช้และแสดงผลทันทีจึงทำงานได้เร็วมาก แต่มีข้อเสียคือเบราว์เซอร์บางแห่งไม่สนับสนุนโค้ดประเภทนี้อาจมีปัญหาไนการแาดงผล มักเขียนด้วย VBScript และ JavaScript อีกประเภทหนึ่งคือ สคริปฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จะประมวลผลโดยเว็บเซิร์ฟเวอร์แล้วแปลงเป็นภาษา HTML ส่งไปยังเบราว์เซอร์ จุดเด่นคือใช้งานได้กับทุกเปราว์เซอร์ จุดด้อยคืออาจทำงานได้ช้าลง ถ้าต้องประมวลข้อมูลจำนวนมาก มักเขียนด้วย ASP และ PHP

             ข้อมูลที่ได้จากฟอร์มจะถูกนำไปประมวบผลต่อด้วยวิธีการประมวลผลซีจีไอ (CGI ย่อมาจาก Common Gateway Interface) ซึ่งเขียนโดยสคริปต่างๆ ดังที่กล่าว